ทุกวันนี้คุณ “จำ Password” กี่ตัวกันครับ?

ผมคิดว่า การจำ Password คืออุปสรรค คือ Pain Point ของผู้ประกอบการหลายคน เพราะเราต้องดีลกับหลายเรื่อง...

” สวัสดีครับ ผมอาร์ม สัณห์ชัย นักรบ ครับ “

ผมคิดว่า การจำ Password คืออุปสรรค คือ Pain Point ของผู้ประกอบการหลายคน เพราะเราต้องดีลกับหลายเรื่อง Login เข้าหลาย Website/Platform และวัน ๆ เรายุ่งมากจนอาจหลงลืมบ้างเป็นธรรมดา 

บางคนเล่นจด Password ใส่กระดาษ/โน๊ต แต่ก็อาจทำตกหายหรือไม่สะดวกในบางโอกาส 

บางคนเล่นตั้ง Password ให้เหมือนกันหมดจะได้จบปัญหา แต่ปัญหาจะงอกก็ต่อเมื่อคุณลืม Password จนเข้าอะไรไม่ได้เลย หรือโดนคนอื่นแฮ็ก Password กลายเป็นว่ามิจฉาชีพคนนั้นสามารถ Access เข้าถึงข้อมูลคุณได้ทุกแห่ง อันตรายขึ้นไปอีก 

วันนี้ผมเลยอยากแชร์วิธีแก้ Pain  Point นี้ด้วยสิ่งที่เรียกว่า “Password Manager” 

📌 Password Manager จะมาช่วยลดภาระการจำ

จากเดิม…จำ 10 Password

จากนี้…จำแค่ 1 Password 

ซึ่งจะเป็น “Master Password” ที่จำทีเดียวจบ แล้วมีกลไกที่สามารถเข้า Website/Platform อื่น ๆ ได้อีกเพียบ 

📌 และถ้าใครยังไม่มั่นใจในความปลอดภัย Password Manager มีระบบ Multi-Factor Authentication (MFA) หรือการยืนยันตัวตนหลายขั้นตอนที่เสริมความปลอดภัยไปอีกระดับ 
เช่น ยืนยันอีกขั้นด้วยระบบ ไบโอเมตริก (Biometric) ผ่านลายนิ้วมือ หรือการสแกนใบหน้า  

📌 สำหรับใครที่ไม่รู้จะตั้งรหัส Master Password แต่แรกยังไง?  
Password Manager มีระบบที่ช่วยคุณคิด ซึ่งจะ Generate ทั้งความยาว และความซับซ้อนที่ยากต่อการถูกแฮ็ก 

📌 สุดท้าย Password Manager อำนวยความสะดวกเราไปอีกขั้น พอเราแค่ Login เข้า Password Manager มันจะ Login เข้า Website/Platform ต่อให้โดยอัตโนมัติ 

คำถามสุดท้าย แล้วเราควรใช้ Password Manager เจ้าไหนดี? 

ตัวเลือกมีเยอะมาก ๆ ตั้งแต่ Google Password Manager, LastPass, iPassword, Enpass, Master Password, dashlane 

ส่วนตัวผมแนะนำ LastPass เพราะใช้งานได้ครอบคลุม ใช้ง่าย ปลอดภัย และมีใช้จ่ายไม่สูง 
แถมมี Features ที่แชร์บัญชีต่าง ๆ กับคนอื่นได้ง่าย ๆ และปลอดภัย ไม่ต้องกลัวว่าคนอื่นจะเข้ามาเปลี่ยน Password 
รวมถึง ช่วยเก็บข้อมูลที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น บัตรเครดิต ใบขับขี่ ข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ หรือโปรไฟล์การช็อปปิ้งของเรา 

ใครสนใจเทคนิค IT Solutions ดี ๆ ที่ช่วยให้บริษัทคุณทำงานง่ายขึ้น…ก็ลองทักมาคุยกับgikได้เลยนะครับ ยินดีให้คำปรึกษาเสมอครับ 

เลือกหัวข้อที่คุณสนใจ

Virtualization (VM)

หลังรับการปรึกษา ลูกค้ากว่า 80% สามารถนำไปแก้ไขปัญหาเองได้ทันที